หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เซลล์พืช

โครงสร้างเซลล์พืช มีรูปร่างคงที่ มีความแข็งแรง และมีออร์แกเนลล์พิเศษที่สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง

       สำหรับพืชก็ประกอบขึ้นด้วยเซลล์เช่นกัน แต่ส่วนประกอบภายใน เซลล์พืช จะแตกต่างออกไปจากเซลล์สัตว์ ทำให้เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะและสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกัน โดย โครงสร้างเซลล์พืช ประกอบไปด้วย
          1. ผนังเซลล์ (Cell wall)
       เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์ จะพบใน เซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ เป็นโครงสร้างที่กำหนดขอบเขต และรูปร่างของสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูป และป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์พืช ในผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) และเพกติน (Pectin)
           2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
       ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) และโปรตีนเป็นส่วนมาก ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนที่เป็นของเหลวและออร์แกเนลล์ภายใน ทั้งยังเป็นเยื่อเลือกผ่าน ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์
เซลล์พืช, โครงสร้างของเซลล์, เซลล์, ส่วนประกอบของเซลล์
เซลล์พืชมีออร์แกเนลล์ที่สามารถสามารถสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ซึ่งไม่พบในเซลล์สัตว์
             3. นิวเคลียส (Nucleus)
          มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ และการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
             4. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
           เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ และสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน
             5. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum)
           แบ่งออกเป็นแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ แบบผิวเรียบจะไม่มีไรโบโซม ขณะที่แบบผิวขรุขระจะมีไรโบโซมเกาะอยู่ โดยไรโบโซม(Ribosome) นี้เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์
              6. แวคิวโอล (Vacuole)
           เป็นถุงขนาดใหญ่ที่พบในเซลล์พืช มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว ทำหน้าที่เก็บของเหลว น้ำ สารอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แทนนิน
กระบวนการสังเคราะห์แสง, เซลล์พืช, เซลล์, คลอโรพลาสต์
การสังเคราะห์แสงในเซลล์พืช เกิดขึ้นที่คลอโรพลาสต์ ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะหืแสงคือ น้ำตาลและแก๊สออกซิเจน
                7. คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
            พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสีเขียวเพราะมีพลาสติดที่สะสมรงควัตถุสีเขียวอยู่ภายใน นั่นคือคลอโรฟีล (Chloroohyll) ทำหน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
               8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
            มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี ทำหน้าที่หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ)
               9. กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิแอพพาราตัส (Golgi Apparatus)
           มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่ง ต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์

เซลล์สัตว์





เซลล์สัตว์ เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสัตว์ ซึ่งภายในเซลล์ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ (organelles) ต่างๆ

    เซลล์ คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต สำหรับใน เซลล์สัตว์ มีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
     เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
    พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส เยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ และเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ มีคุณสมบัติยอมให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกเท่านั้น ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และคอเลสเตอรอล
      นิวเคลียส (Nucleus)
     มีลักษณะค่อนข้างกลม อยู่บริเวณกลางเซลล์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอพลาซึมซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ภายในเซลล์ แบ่งเซลล์ และบรรจุสารพันธุกรรม DNA
       ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
      อยู่ระหว่างนิวเคลียสและเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่าไซโทซอล (Cytosol) และส่วนที่เป็นของแข็ง เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle)


ออร์แกเนลล์ต่างๆ ภายในเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่สอดประสาน เพื่อให้กิจกรรมภายในเซลล์ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติ

        ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum, ER)
      แบ่งออกเป็นชนิดผิวเรียบและผิวขรุขระ ชนิดผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Recticulum, SER) จะไม่มีไรโบโซมเกาะ ทำหน้าที่สร้างไขมัน กำจัดสารพิษ ส่วนชนิดผิวขรุขระ (Rough endoplasmic recticulum, RER) จะมีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สร้างโปรตีน และส่งโปรตีนออกนอกเซลล์
        ไรโบโซม (Ribosome)
      เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์ มี 2 หน่วยย่อย ประกอบด้วยหน่วยใหญ่และหน่วยเล็ก แต่ละหน่วยจะมี Ribosomal RNA (rRNA)
        ไลโซโซม (Lysosome)
      เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง ทำหน้าที่ย่อยสลายอนุภาค โมเลกุลสารอาหารภายในเซลล์ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์ และทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว

ไมโทคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิต และทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการหายใจระดับเซลล์

        ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
      เป็นแหล่งผลิตสารพลังงานสูง คือ ATP เกี่ยวข้องกับการสลายอาหารหรือการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน เป็นออร์แกเนลล์ที่ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีของเหลวภายในเรียกว่า matrix ภายในมี DNA และไรโบโซมเป็นของตัวเอง
         กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิคอมเพล็กซ์ (Golgi Complex)
      มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่งหรือต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์



วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หมาก

                       ต้นหมาก

  
                                       
 
ชื่อทั่วไป
    -หมาก
ชื่อสามัญ
   - Betel  Nuts
ชื่อวิทยาศาสตร์
    -Areca catechu Linn
ชื่อวงศ์
    -    
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
        หมากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  ไม่มีราคแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน

ลำต้น 
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว  ระยะแรกจะมีการเจริญ
โตด้านกว้างและด้านสูง  หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง  หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย  ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ  ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น ใบ หรือ ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ เซนติเมตร  ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก

ใบ
 เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด  ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น
แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย  เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก  ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก  เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก

ดอก 
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก  ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น  ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง  ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย  โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน  ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน

ผล 
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี  เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1
ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล  ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ  ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง  ผลประกอบด้วย  ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว  เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด  เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก  ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม  เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล  เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

พันธุ์หมาก 
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
1. แบ่งตามลักษณะของผล
1.1 หมากผลกลมแป้น
1.2 หมากผลกลมรี
2. แบ่งตามลักษณะของทรงต้น
2.1 พันธุ์ต้นสูง
2.2 พันธุ์ต้นเตี้ย
2.3 พันธุ์ต้นกลาง

การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว  จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้  การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 – 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม
               
การปลูกการดูแลรักษา 
หมากเจริญเติบโตดี  ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา  หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 – 30 ปี 
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร  เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน  ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง  ระบายน้ำดี  มีหน้าดินลึก เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่
               
ฤดูปลูก 
ฤดูปลูกที่เหมาะจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม  ระยะปลูกมี แบบ คือ
                1. แบบยกร่อง  ระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง ระหว่างต้นห่าง 3 – 5 เมตร ถ้าร่องกว้าง เมตร จะได้หมากไร่ละ 100 – 170 ต้น
                2. แบบพื้นราบ  ปลูกพื้นราบ ถ้าระยะปลูก 2 X 2 จะได้ต้นหมาก 400 ต้นต่อ ไร่

ช้างแมมมอธ

             ช้างแมมมอธ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ช้างแมมมอธ
     แมมมอธ (อังกฤษ: Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า “แมมมอธ” นั้นมาจากคำว่า “Mammal” หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน
แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย
แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว
เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ช้างแมมมอธ

เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว
ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 มีการค้นพบซากลูกแมมมอธอายุราว 30,000 ปี ที่สมบูรณ์มากตัวหนึ่งที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงมอสโคราว 3,500 กิโลเมตร โดยเด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่ง นับเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์มากซากหนึ่งในรอบนับร้อยปี เชื่อว่า ลูกแมมมอธตัวดังกล่าวตายลงเมื่อมีอายุได้ 16 ปี มีความสูงได้ 2 เมตร

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

กระบองเพชร


             ต้นกระบองเพชร 


การปลูกต้นกระบองเพชร
          ต้นกระบองเพชร หรือ แคคตัส (Cactus) พืชอวบน้ำที่เกือบทุกคนต้องรู้จัก เพราะมีหน้าตาน่ารัก สวยงาม ลำต้นเล็ก เลี้ยงง่าย วางไว้ตามโต๊ะทำงานก็ยังได้ แถมฮิตและโด่งดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องคอยไปหาซื้อต้นไม้ชนิดนี้อยู่เป็นประจำ ไม่เคยได้รู้ถึงวิธีปลูกของมันสักที วันนี้กระปุกดอทคอมนำการปลูกต้นกระบองเพชร การเลี้ยงและดูแล พร้อมด้วยเรื่องราวน่ารู้อื่น ๆ เกี่ยวกับต้นไม้ชนิดนี้มาฝากกันค่ะ 

          กระบองเพชร เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำจากสารคลอโรฟิลล์ซึ่งใช้สังเคราะห์แสงแทนใบ มีทั้งทรงกลมเตี้ยและกระบอกสูง ขึ้นต้นเดี่ยวและแตกเป็นกอ

          สำหรับลักษณะของหนามมีทั้งแบบหนามแข็ง ปลายตรงหรืองุ้ม และแบบเส้นอ่อนคล้ายขนสัตว์ โดยสีของหนามขึ้นอยู่กับสายพันธุ์หรืออาจเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ

          ในขณะที่ดอกของกระบองเพชร แม้จะขึ้นได้ยาก แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้ดอกไม้ชนิดอื่น ๆ มีทั้งสีแดง ชมพู ขาว และเหลือง มักออกดอกเดี่ยว ๆ ไม่มีก้านดอก

          ส่วนของผลต้นกระบองเพชรก็มีหลากหลายรูปทรง ทั้งทรงกลม ทรงกระบอก รูปไข่ ผิวเปลือกเรียบ เป็นมัน เนื้อผลนุ่ม ใส คล้ายวุ่น มีหนามปกคลุมบางชนิด เมื่อผลแก่เต็มที่จะแห้งและร่วงลงดิน ในขณะที่ผลของบางสายพันธุ์เปลือกจะปริออกให้เมล็ดกระเด็นออกจากลำต้น

 สายพันธุ์ของกระบองเพชร
       
          1. กระบองเพชรที่มีลำต้นและใบแบน (Flat-stem) เช่น สกุล Opuntia, Zygocactus, Epiplyllum

          2. กระบองเพชรพวกที่มีลำต้นเป็นหัวกลม ๆ (Globular-stem) เช่น สกุล As­trophytum, Thelocactus,Mam- millaria

          3. กระบองเพชรพวกที่มีกิ่งก้านคล้ายต้นไม้ทั่ว ๆ ไป (Branching-stern) เช่น สกุล Myrtillocactus Cereus, Pachy- cereus, Nopalxochia

          4. กระบองเพชรพวกที่มีต้นเป็นกระจุกหรือต้นเล็ก ๆ เหมาะสำหรับปลูกในกระถาง (Small cacti) เช่น สกุล Echinopsis, Ariocarpus, Neobesseya

          5. กระบองเพชรพวกที่เป็นเถาเลื้อยไต่ตามต้นไม้ กำแพง  (Climbingcacti) เช่น สกุล Echinocactus, Cornegiea, Trichocereus

การปลูกต้นกระบองเพชร
 

         การปลูกกระบองเพชรด้วยเมล็ด

          การปลูกกระบองเพชรด้วยเมล็ด ให้นำเมล็ดแก่หรือเมล็ดจากผลที่ปริแตก มาแช่น้ำ 2-5 นาที จากนั้นล้างเมือกออก แล้วตากแดดให้แห้งประมาณ 1-2 วัน พักไว้อีก 1-2 เดือน ค่อนนำมาปลูกลงในกระถาง  โดยใช้ทรายหรือดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตรา 1:1 ส่วน ใส่ลงในกระถางพลาสติกเล็ก ๆ เพื่อทำการเพาะ ก่อนนำเมล็ดมาโรยแล้วเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย ก่อนจะรดน้ำให้ชุ่มแล้วนำถุงพลาสติกมาหุ้มคลุมไว้ วางไว้ในที่มีแดดรำไร พร้อมกับเช็กเป็นระยะ หากดินแห้งให้หมั่นรดน้ำเป็นประจำ หากพบว่าเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนได้ 2-3 วัน ค่อยย้ายไปปลูกในกระถางใหญ่ หากต้องการปลูกในแปลงเพื่อทำแนวรั้ว ให้ผสมดินร่วนกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 3:1 แล้วขุดดินเพื่อปลูก ขนาดหลุมประมาณ 30x30x30 เซนติเมตร

          การปักชำต้นกระบองเพชร

          วิธีการขยายพันธุต้นกระบองเพชรที่ง่ายและรวดเร็ว เลยเป็นที่นิยมกันมาก โดยเตรียมวัสดุปลูกเหมือนกับการปลูกในกระถาง จากนั้นนำต้นหรือกิ่งจากต้นแม่มาปักชำลงกระถาง วางไว้ในที่แดดรำไร และรดน้ำ 2 วันต่อครั้ง หลักงจากกิ่งชำติดแล้วลดเหลือ 3 วันต่อครั้งก็พอ เพราะเป็นต้นไม้ที่ต้องการน้ำน้อยแต่ต้องการต่อเนื่อง

          - วิธีปลูกต้นแคคตัสพร้อมสูตรปุ๋ย สำหรับมือใหม่หัดปลูก !

          - วิธีเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด ปลูกในกล่องพลาสติก ครั้งเดียวได้หลายต้น !!

ต้นกระบองเพชรกับการดูแล

           แม้ต้นกระบองเพชรเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ก็ต้องการน้ำต่อเนื่อง ฉะนั้นเมื่อต้นโตเต็มที่แล้ว ควรหมั่นให้น้ำอย่างน้อย 7-10 วันต่อครั้ง บำรุงด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 5-6 ครั้งต่อปี หมั่นตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง สิ่งที่ต้องระวังในการปลูกต้นกระบองเพชรคือ ลำต้นเหี่ยว วีด มีรอยย่น และแคระแกร็น โคนโยก รากเน่าเพราะความชื้นสูงเกินไป แต่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืชเหมือนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ

          ส่วนเคล็ดลับในการเลี้ยงต้นกระบองเพชรให้ออกดอกสำหรับการปลูกในบ้านก็คือ วางให้โดดแดดโดยตรงในช่วงที่กำลังโต ประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน นอกเหนือจากนี้ก็วางกระถางในที่มีแดดรำไร และหมั่นรดน้ำเป็นประจำเมื่อหน้าดินแห้ง โดยรดน้ำให้ชุ่มหรือให้น้ำซึมลงไปจากหน้าดินประมาณ 2 นิ้ว นอกจากนี้ก็หมั่นใส่ปุ๋ยอย่าให้ขาด โดยเป็นปุ๋ยที่ใช้สำหรับบำรุงแคคตัสเท่านั้น หรือเป็นสูตรปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียมสูงแต่ไนโตรเจนต่ำ หากมีการเปลี่ยนกระถางไม่ควรรดน้ำทันที แต่ให้เว้นไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนให้น้ำครั้งต่อไป

ประโยชน์ต้นกระบองเพชร

          - กระบองเพชรเป็นต้นไม้ที่มีลักษณะแปลกตา สีสันสวยงาม หลาย ๆ คนจึงนิยมนำไปปลูกประดับบ้านหรืออาคาร เช่น ตั้งบนโต๊ะทำงานหรือวางตามมุมห้องต่าง ๆ

          - ดอกและผลของต้นกระบองเพชรบางสายพันธุ์สามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ แต่ต้องกำจัดยางออกให้หมดก่อน

          - น้ำมันในเมล็ดของผลกระบองเพชรสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางได้

          - สารสกัดจากต้นกระบองเพชรมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี ไฟเบอร์ อีกทั้งยังช่วยลดการดูดซึมไขมัน ลดคอเลสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

          - หนามที่มีลักษณะแหลมคล้ายเข็มของกระบองเพชรสามารถนำมาเย็บแผลได้ แต่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อที่สะอาดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

          - สามารถดื่มน้ำในลำต้นของกระบองเพชรแก้กระหายเมื่อขาดแหล่งน้ำ อย่างเช่น กลางทะเลทรายได้

กล้วย




                             กล้วย


กล้วย

กล้วยเป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยมาก เราใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วย ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กาบ ใบ และผล แม้แต่ก้านใบ ก็ยังเป็นม้าขี่เล่นที่เด็กๆ ชื่นชอบ
ประวัติของกล้วย
กล้วยมีวิวัฒนาการมาถึง ๕๐ ล้านปี มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียเป็นประเทศที่ปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมาก จนมีผู้กล่าวว่า "กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย" ต่อมาได้มีผู้นำกล้วยไปปลูกขยายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา และอเมริกากลางตามลำดับ จนทำให้ในปัจจุบัน บางประเทศในอเมริกากลางสามารถส่งกล้วยเป็นสินค้าออกที่สำคัญมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  • ลำต้น กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า ที่เราเห็นอยู่เหนือพื้นดิน เป็นลำต้นเทียม ประกอบด้วย กาบใบ ซึ่งจะชูก้านใบและใบ เมื่อเจริญแล้ว จะมีใบสุดท้ายก่อนเกิดดอก เรียกว่า ใบธง
  • ดอก กล้วยออกดอกเป็นช่อ ในช่อดอกยังมีกลุ่มช่อดอกย่อย เป็นกลุ่มๆ ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อย มีกลีบประดับสีม่วงเข้มกั้นเรียกว่า กาบปลี ในช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเพศเมียเรียงซ้อนกันอยู่ ๒ แถว ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นผล ส่วนดอกเพศผู้อยู่ที่ปลายคือ ส่วนที่เรียกว่า หัวปลี
  • ผล กลุ่มดอกเพศเมียเจริญเป็นผลได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ กลุ่มผล กล้วย ๑ กลุ่ม  เรียกว่า ๑ หวี ช่อดอกเมื่อเจริญเป็นผล เรียกว่า เครือ บางเครือมีเพียง ๒ - ๓ หวี บางเครืออาจมีมากกว่า ๑๐ หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วย และการบำรุงดูแล
  • เมล็ด กล้วยบางพันธุ์มีเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ มีเปลือกหนา แข็ง สีดำ
  • ราก เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางกว้าง
  • ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่สีเขียว กว้างประมาณ ๗๐ - ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑.๗ - ๒.๕ เมตร ทั้งปลายและโคนใบมน รูปใบขอบขนาน

การจำแนกกลุ่มของกล้วย
อาจจำแนกได้ตามวิธีรับประทาน และตามลักษณะทางพันธุกรรม หากจำแนกตามวิธีรับประทานก็มีกล้วยกินสด เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า อีกชนิดหนึ่งมีแป้งมาก และเนื้อแข็ง เมื่อจะรับประทานต้องต้ม เผา ปิ้ง หรือเชื่อมก่อน จึงจะมีรสอร่อย เช่น กล้วยหักมุก กล้วยกล้าย ส่วนการจำแนกกลุ่มของกล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรมนั้น พิจารณาจากบรรพบุรุษของกล้วย ซึ่งมี ๒ ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดมาจากกล้วยชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นลูกผสมของ ๒ ชนิดรวมกัน เกิดเป็นกล้วยพันธุ์ต่างๆ มากมาย



กล้วยไข่
กล้วยที่นิยมรับประทานผลสด : กล้วยไข่
จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 30



กล้วยน้ำหว้า
กล้วยที่นิยมรับประทานผลสด : กล้วยน้ำว้า
จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 30

พันธุ์กล้วยในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีพันธุ์กล้วย ๗๑ พันธุ์ ที่รู้จักกันดี เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง ฯลฯ ชื่อของกล้วยพันธุ์ต่างๆ นี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้นำไปแต่งไว้เป็นกาพย์ฉบัง เพื่อให้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในโรงเรียน เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นบทประพันธ์ที่มีความไพเราะมาก



กล้วยที่นำมาทำอาหาร
กล้วยที่ควรนำมาต้ม เผา ปิ้ง หรือเชื่อมก่อนรับประทาน : กล้วยหักมุก
จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 30

การปลูกและการดูแล
กล้วยชอบอากาศร้อนชื้น ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า ๑๔ องศาเซลเซียส จะชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นดินฟ้าอากาศของประเทศไทย จึงเหมาะแก่การปลูกกล้วยมาก กล้วยชอบดินปนทรายที่มีลักษณะร่วน มีการระบายน้ำและอากาศหมุนเวียนได้ดี หากมีหน่อมากเกินไป ควรเอาออกบ้าง เพื่อมิให้แย่งอาหารจากต้นแม่ ควรเก็บหน่อไว้สัก ๑ - ๒ หน่อ เพื่อให้เป็นตัวพยุงต้นแม่ การกำจัดหน่ออาจใช้เสียมคมๆ หรือมีดแซะลงไป หรือใช้มีดตัดแล้วคว้านหน่อที่อยู่เหนือดิน แล้วหยอดน้ำมันก๊าดที่บริเวณจุดเจริญ เพื่อยับยั้งการเจริญต่อไป ถ้ากล้วยอยู่ระหว่างออกดอกไม่ควรแซะหน่อ เพราะจะกระทบกระเทือนถึงต้นได้  กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก จึงควรบำรุงโดยใส่ทั้งปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีด้วย ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก ๒ เดือนแรก ให้ปุ๋ยยูเรียเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้ได้ไนโตรเจน เดือนที่ ๓ และ ๔ ให้ปุ๋ยสูตร ๑๕ - ๑๕ - ๑๕ เดือนที่ ๕ และ ๖ ให้ปุ๋ยสูตร ๑๓ - ๑๓ - ๒๑ ปริมาณต้นละ ๑/๒ กิโลกรัม หากกล้วยให้ผลดกมาก จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำยันที่บริเวณโคนของเครือกล้วย เพื่อไม่ให้ต้นโค่นล้มลง
ต้นสนฉัตร

สนฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Aruacaria heterophylla

วงศ์ : ARUCARIACEAE
        
      ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาะนอร์ฟอล์ก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ใช้ปลูกประดับสวนและปลูกในบริเวณบ้าน ให้ความสง่างามน่าดูมาก เพราะมีรูปทรงต้นคล้ายฉัตร ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นรอบต้น กิ่งและใบแตกออกมาจากต้นในรัศมีเดียวกันเป็นชั้นๆ จากโคนถึงยอด ตอนโคนต้นมีชั้นใหญ่และเล็กลงจนถึงยอด ใบสีเขียวแก่เป็นเกร็ดเล็กรวมกันเป็นแผงใหญ่ สนฉัตรเมื่อต้นเล็กขณะที่มีขนาดราว 30-150 เซนติเมตร สามารถปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้ แต่เมื่อต้นโตขึ้นควรลงปลูกในดิน แต่ถ้าโตหรือแก่มากต้นสูงขึ้นใบตอนล่างจะร่วงหล่นหมด ลำต้นจะไม่ตรงไม่น่าดู สนฉัตรชอบแดดจัด หากปลูกภายในอาคารควรวางในตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึง นอกจากความสง่างามของทรงพุ่มแล้ว สนฉัตรยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่สภาพแวดล้อมภายในอาคารด้วยการคายน้ำได้มากถึงแม้จะดูดสารพิษได้ไม่มากนัก เป็นพืชที่ต้องการแสง แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส เป็นต้นไม้ที่ ต้องการความชื้นสูง และ ต้องการปริมาณน้ำมาก
               การดูแลต้นสนฉัตร การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร นิยมใช้ต้นสนฉัตรอายุระหว่าง 1-3 ปี การปลูกควรใช้กระถางทรงสูงขนาด12-18 นิ้ว ใช้ดินร่วน 1 ส่วน แกลบผุ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และควรเปลี่ยนกระถางตามความเหมาะสมของทรงพุ่ม ถ้าต้นสนฉัตรมีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกในแปลงปลูกเพราะทรงพุ่มโตขึ้น
               การปลูกต้นสนฉัตร ต้องการแสงแดดปานกลางจนถึงแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุยมีความชื้นสูง ไม่ค่อยผู้ที่มีปัญหาเรื่องศัตรูเพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร