หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หมาก

                       ต้นหมาก

  
                                       
 
ชื่อทั่วไป
    -หมาก
ชื่อสามัญ
   - Betel  Nuts
ชื่อวิทยาศาสตร์
    -Areca catechu Linn
ชื่อวงศ์
    -    
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
        หมากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  ไม่มีราคแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน

ลำต้น 
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว  ระยะแรกจะมีการเจริญ
โตด้านกว้างและด้านสูง  หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง  หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย  ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ  ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น ใบ หรือ ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ เซนติเมตร  ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก

ใบ
 เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด  ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น
แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย  เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก  ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก  เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก

ดอก 
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก  ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น  ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง  ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย  โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน  ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน

ผล 
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี  เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1
ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล  ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ  ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง  ผลประกอบด้วย  ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว  เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด  เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก  ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม  เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล  เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

พันธุ์หมาก 
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
1. แบ่งตามลักษณะของผล
1.1 หมากผลกลมแป้น
1.2 หมากผลกลมรี
2. แบ่งตามลักษณะของทรงต้น
2.1 พันธุ์ต้นสูง
2.2 พันธุ์ต้นเตี้ย
2.3 พันธุ์ต้นกลาง

การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว  จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้  การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 – 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม
               
การปลูกการดูแลรักษา 
หมากเจริญเติบโตดี  ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา  หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 – 30 ปี 
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร  เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน  ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง  ระบายน้ำดี  มีหน้าดินลึก เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่
               
ฤดูปลูก 
ฤดูปลูกที่เหมาะจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม  ระยะปลูกมี แบบ คือ
                1. แบบยกร่อง  ระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง ระหว่างต้นห่าง 3 – 5 เมตร ถ้าร่องกว้าง เมตร จะได้หมากไร่ละ 100 – 170 ต้น
                2. แบบพื้นราบ  ปลูกพื้นราบ ถ้าระยะปลูก 2 X 2 จะได้ต้นหมาก 400 ต้นต่อ ไร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น