หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

กระบองเพชร


             ต้นกระบองเพชร 


การปลูกต้นกระบองเพชร
          ต้นกระบองเพชร หรือ แคคตัส (Cactus) พืชอวบน้ำที่เกือบทุกคนต้องรู้จัก เพราะมีหน้าตาน่ารัก สวยงาม ลำต้นเล็ก เลี้ยงง่าย วางไว้ตามโต๊ะทำงานก็ยังได้ แถมฮิตและโด่งดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องคอยไปหาซื้อต้นไม้ชนิดนี้อยู่เป็นประจำ ไม่เคยได้รู้ถึงวิธีปลูกของมันสักที วันนี้กระปุกดอทคอมนำการปลูกต้นกระบองเพชร การเลี้ยงและดูแล พร้อมด้วยเรื่องราวน่ารู้อื่น ๆ เกี่ยวกับต้นไม้ชนิดนี้มาฝากกันค่ะ 

          กระบองเพชร เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำจากสารคลอโรฟิลล์ซึ่งใช้สังเคราะห์แสงแทนใบ มีทั้งทรงกลมเตี้ยและกระบอกสูง ขึ้นต้นเดี่ยวและแตกเป็นกอ

          สำหรับลักษณะของหนามมีทั้งแบบหนามแข็ง ปลายตรงหรืองุ้ม และแบบเส้นอ่อนคล้ายขนสัตว์ โดยสีของหนามขึ้นอยู่กับสายพันธุ์หรืออาจเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ

          ในขณะที่ดอกของกระบองเพชร แม้จะขึ้นได้ยาก แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้ดอกไม้ชนิดอื่น ๆ มีทั้งสีแดง ชมพู ขาว และเหลือง มักออกดอกเดี่ยว ๆ ไม่มีก้านดอก

          ส่วนของผลต้นกระบองเพชรก็มีหลากหลายรูปทรง ทั้งทรงกลม ทรงกระบอก รูปไข่ ผิวเปลือกเรียบ เป็นมัน เนื้อผลนุ่ม ใส คล้ายวุ่น มีหนามปกคลุมบางชนิด เมื่อผลแก่เต็มที่จะแห้งและร่วงลงดิน ในขณะที่ผลของบางสายพันธุ์เปลือกจะปริออกให้เมล็ดกระเด็นออกจากลำต้น

 สายพันธุ์ของกระบองเพชร
       
          1. กระบองเพชรที่มีลำต้นและใบแบน (Flat-stem) เช่น สกุล Opuntia, Zygocactus, Epiplyllum

          2. กระบองเพชรพวกที่มีลำต้นเป็นหัวกลม ๆ (Globular-stem) เช่น สกุล As­trophytum, Thelocactus,Mam- millaria

          3. กระบองเพชรพวกที่มีกิ่งก้านคล้ายต้นไม้ทั่ว ๆ ไป (Branching-stern) เช่น สกุล Myrtillocactus Cereus, Pachy- cereus, Nopalxochia

          4. กระบองเพชรพวกที่มีต้นเป็นกระจุกหรือต้นเล็ก ๆ เหมาะสำหรับปลูกในกระถาง (Small cacti) เช่น สกุล Echinopsis, Ariocarpus, Neobesseya

          5. กระบองเพชรพวกที่เป็นเถาเลื้อยไต่ตามต้นไม้ กำแพง  (Climbingcacti) เช่น สกุล Echinocactus, Cornegiea, Trichocereus

การปลูกต้นกระบองเพชร
 

         การปลูกกระบองเพชรด้วยเมล็ด

          การปลูกกระบองเพชรด้วยเมล็ด ให้นำเมล็ดแก่หรือเมล็ดจากผลที่ปริแตก มาแช่น้ำ 2-5 นาที จากนั้นล้างเมือกออก แล้วตากแดดให้แห้งประมาณ 1-2 วัน พักไว้อีก 1-2 เดือน ค่อนนำมาปลูกลงในกระถาง  โดยใช้ทรายหรือดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตรา 1:1 ส่วน ใส่ลงในกระถางพลาสติกเล็ก ๆ เพื่อทำการเพาะ ก่อนนำเมล็ดมาโรยแล้วเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย ก่อนจะรดน้ำให้ชุ่มแล้วนำถุงพลาสติกมาหุ้มคลุมไว้ วางไว้ในที่มีแดดรำไร พร้อมกับเช็กเป็นระยะ หากดินแห้งให้หมั่นรดน้ำเป็นประจำ หากพบว่าเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนได้ 2-3 วัน ค่อยย้ายไปปลูกในกระถางใหญ่ หากต้องการปลูกในแปลงเพื่อทำแนวรั้ว ให้ผสมดินร่วนกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 3:1 แล้วขุดดินเพื่อปลูก ขนาดหลุมประมาณ 30x30x30 เซนติเมตร

          การปักชำต้นกระบองเพชร

          วิธีการขยายพันธุต้นกระบองเพชรที่ง่ายและรวดเร็ว เลยเป็นที่นิยมกันมาก โดยเตรียมวัสดุปลูกเหมือนกับการปลูกในกระถาง จากนั้นนำต้นหรือกิ่งจากต้นแม่มาปักชำลงกระถาง วางไว้ในที่แดดรำไร และรดน้ำ 2 วันต่อครั้ง หลักงจากกิ่งชำติดแล้วลดเหลือ 3 วันต่อครั้งก็พอ เพราะเป็นต้นไม้ที่ต้องการน้ำน้อยแต่ต้องการต่อเนื่อง

          - วิธีปลูกต้นแคคตัสพร้อมสูตรปุ๋ย สำหรับมือใหม่หัดปลูก !

          - วิธีเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด ปลูกในกล่องพลาสติก ครั้งเดียวได้หลายต้น !!

ต้นกระบองเพชรกับการดูแล

           แม้ต้นกระบองเพชรเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ก็ต้องการน้ำต่อเนื่อง ฉะนั้นเมื่อต้นโตเต็มที่แล้ว ควรหมั่นให้น้ำอย่างน้อย 7-10 วันต่อครั้ง บำรุงด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 5-6 ครั้งต่อปี หมั่นตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง สิ่งที่ต้องระวังในการปลูกต้นกระบองเพชรคือ ลำต้นเหี่ยว วีด มีรอยย่น และแคระแกร็น โคนโยก รากเน่าเพราะความชื้นสูงเกินไป แต่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืชเหมือนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ

          ส่วนเคล็ดลับในการเลี้ยงต้นกระบองเพชรให้ออกดอกสำหรับการปลูกในบ้านก็คือ วางให้โดดแดดโดยตรงในช่วงที่กำลังโต ประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน นอกเหนือจากนี้ก็วางกระถางในที่มีแดดรำไร และหมั่นรดน้ำเป็นประจำเมื่อหน้าดินแห้ง โดยรดน้ำให้ชุ่มหรือให้น้ำซึมลงไปจากหน้าดินประมาณ 2 นิ้ว นอกจากนี้ก็หมั่นใส่ปุ๋ยอย่าให้ขาด โดยเป็นปุ๋ยที่ใช้สำหรับบำรุงแคคตัสเท่านั้น หรือเป็นสูตรปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียมสูงแต่ไนโตรเจนต่ำ หากมีการเปลี่ยนกระถางไม่ควรรดน้ำทันที แต่ให้เว้นไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนให้น้ำครั้งต่อไป

ประโยชน์ต้นกระบองเพชร

          - กระบองเพชรเป็นต้นไม้ที่มีลักษณะแปลกตา สีสันสวยงาม หลาย ๆ คนจึงนิยมนำไปปลูกประดับบ้านหรืออาคาร เช่น ตั้งบนโต๊ะทำงานหรือวางตามมุมห้องต่าง ๆ

          - ดอกและผลของต้นกระบองเพชรบางสายพันธุ์สามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ แต่ต้องกำจัดยางออกให้หมดก่อน

          - น้ำมันในเมล็ดของผลกระบองเพชรสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางได้

          - สารสกัดจากต้นกระบองเพชรมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี ไฟเบอร์ อีกทั้งยังช่วยลดการดูดซึมไขมัน ลดคอเลสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

          - หนามที่มีลักษณะแหลมคล้ายเข็มของกระบองเพชรสามารถนำมาเย็บแผลได้ แต่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อที่สะอาดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

          - สามารถดื่มน้ำในลำต้นของกระบองเพชรแก้กระหายเมื่อขาดแหล่งน้ำ อย่างเช่น กลางทะเลทรายได้

กล้วย




                             กล้วย


กล้วย

กล้วยเป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยมาก เราใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วย ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กาบ ใบ และผล แม้แต่ก้านใบ ก็ยังเป็นม้าขี่เล่นที่เด็กๆ ชื่นชอบ
ประวัติของกล้วย
กล้วยมีวิวัฒนาการมาถึง ๕๐ ล้านปี มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียเป็นประเทศที่ปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมาก จนมีผู้กล่าวว่า "กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย" ต่อมาได้มีผู้นำกล้วยไปปลูกขยายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา และอเมริกากลางตามลำดับ จนทำให้ในปัจจุบัน บางประเทศในอเมริกากลางสามารถส่งกล้วยเป็นสินค้าออกที่สำคัญมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  • ลำต้น กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า ที่เราเห็นอยู่เหนือพื้นดิน เป็นลำต้นเทียม ประกอบด้วย กาบใบ ซึ่งจะชูก้านใบและใบ เมื่อเจริญแล้ว จะมีใบสุดท้ายก่อนเกิดดอก เรียกว่า ใบธง
  • ดอก กล้วยออกดอกเป็นช่อ ในช่อดอกยังมีกลุ่มช่อดอกย่อย เป็นกลุ่มๆ ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อย มีกลีบประดับสีม่วงเข้มกั้นเรียกว่า กาบปลี ในช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเพศเมียเรียงซ้อนกันอยู่ ๒ แถว ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นผล ส่วนดอกเพศผู้อยู่ที่ปลายคือ ส่วนที่เรียกว่า หัวปลี
  • ผล กลุ่มดอกเพศเมียเจริญเป็นผลได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ กลุ่มผล กล้วย ๑ กลุ่ม  เรียกว่า ๑ หวี ช่อดอกเมื่อเจริญเป็นผล เรียกว่า เครือ บางเครือมีเพียง ๒ - ๓ หวี บางเครืออาจมีมากกว่า ๑๐ หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วย และการบำรุงดูแล
  • เมล็ด กล้วยบางพันธุ์มีเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ มีเปลือกหนา แข็ง สีดำ
  • ราก เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางกว้าง
  • ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่สีเขียว กว้างประมาณ ๗๐ - ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑.๗ - ๒.๕ เมตร ทั้งปลายและโคนใบมน รูปใบขอบขนาน

การจำแนกกลุ่มของกล้วย
อาจจำแนกได้ตามวิธีรับประทาน และตามลักษณะทางพันธุกรรม หากจำแนกตามวิธีรับประทานก็มีกล้วยกินสด เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า อีกชนิดหนึ่งมีแป้งมาก และเนื้อแข็ง เมื่อจะรับประทานต้องต้ม เผา ปิ้ง หรือเชื่อมก่อน จึงจะมีรสอร่อย เช่น กล้วยหักมุก กล้วยกล้าย ส่วนการจำแนกกลุ่มของกล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรมนั้น พิจารณาจากบรรพบุรุษของกล้วย ซึ่งมี ๒ ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดมาจากกล้วยชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นลูกผสมของ ๒ ชนิดรวมกัน เกิดเป็นกล้วยพันธุ์ต่างๆ มากมาย



กล้วยไข่
กล้วยที่นิยมรับประทานผลสด : กล้วยไข่
จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 30



กล้วยน้ำหว้า
กล้วยที่นิยมรับประทานผลสด : กล้วยน้ำว้า
จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 30

พันธุ์กล้วยในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีพันธุ์กล้วย ๗๑ พันธุ์ ที่รู้จักกันดี เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง ฯลฯ ชื่อของกล้วยพันธุ์ต่างๆ นี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้นำไปแต่งไว้เป็นกาพย์ฉบัง เพื่อให้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในโรงเรียน เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นบทประพันธ์ที่มีความไพเราะมาก



กล้วยที่นำมาทำอาหาร
กล้วยที่ควรนำมาต้ม เผา ปิ้ง หรือเชื่อมก่อนรับประทาน : กล้วยหักมุก
จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 30

การปลูกและการดูแล
กล้วยชอบอากาศร้อนชื้น ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า ๑๔ องศาเซลเซียส จะชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นดินฟ้าอากาศของประเทศไทย จึงเหมาะแก่การปลูกกล้วยมาก กล้วยชอบดินปนทรายที่มีลักษณะร่วน มีการระบายน้ำและอากาศหมุนเวียนได้ดี หากมีหน่อมากเกินไป ควรเอาออกบ้าง เพื่อมิให้แย่งอาหารจากต้นแม่ ควรเก็บหน่อไว้สัก ๑ - ๒ หน่อ เพื่อให้เป็นตัวพยุงต้นแม่ การกำจัดหน่ออาจใช้เสียมคมๆ หรือมีดแซะลงไป หรือใช้มีดตัดแล้วคว้านหน่อที่อยู่เหนือดิน แล้วหยอดน้ำมันก๊าดที่บริเวณจุดเจริญ เพื่อยับยั้งการเจริญต่อไป ถ้ากล้วยอยู่ระหว่างออกดอกไม่ควรแซะหน่อ เพราะจะกระทบกระเทือนถึงต้นได้  กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก จึงควรบำรุงโดยใส่ทั้งปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีด้วย ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก ๒ เดือนแรก ให้ปุ๋ยยูเรียเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้ได้ไนโตรเจน เดือนที่ ๓ และ ๔ ให้ปุ๋ยสูตร ๑๕ - ๑๕ - ๑๕ เดือนที่ ๕ และ ๖ ให้ปุ๋ยสูตร ๑๓ - ๑๓ - ๒๑ ปริมาณต้นละ ๑/๒ กิโลกรัม หากกล้วยให้ผลดกมาก จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำยันที่บริเวณโคนของเครือกล้วย เพื่อไม่ให้ต้นโค่นล้มลง
ต้นสนฉัตร

สนฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Aruacaria heterophylla

วงศ์ : ARUCARIACEAE
        
      ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาะนอร์ฟอล์ก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ใช้ปลูกประดับสวนและปลูกในบริเวณบ้าน ให้ความสง่างามน่าดูมาก เพราะมีรูปทรงต้นคล้ายฉัตร ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นรอบต้น กิ่งและใบแตกออกมาจากต้นในรัศมีเดียวกันเป็นชั้นๆ จากโคนถึงยอด ตอนโคนต้นมีชั้นใหญ่และเล็กลงจนถึงยอด ใบสีเขียวแก่เป็นเกร็ดเล็กรวมกันเป็นแผงใหญ่ สนฉัตรเมื่อต้นเล็กขณะที่มีขนาดราว 30-150 เซนติเมตร สามารถปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้ แต่เมื่อต้นโตขึ้นควรลงปลูกในดิน แต่ถ้าโตหรือแก่มากต้นสูงขึ้นใบตอนล่างจะร่วงหล่นหมด ลำต้นจะไม่ตรงไม่น่าดู สนฉัตรชอบแดดจัด หากปลูกภายในอาคารควรวางในตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึง นอกจากความสง่างามของทรงพุ่มแล้ว สนฉัตรยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่สภาพแวดล้อมภายในอาคารด้วยการคายน้ำได้มากถึงแม้จะดูดสารพิษได้ไม่มากนัก เป็นพืชที่ต้องการแสง แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส เป็นต้นไม้ที่ ต้องการความชื้นสูง และ ต้องการปริมาณน้ำมาก
               การดูแลต้นสนฉัตร การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร นิยมใช้ต้นสนฉัตรอายุระหว่าง 1-3 ปี การปลูกควรใช้กระถางทรงสูงขนาด12-18 นิ้ว ใช้ดินร่วน 1 ส่วน แกลบผุ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และควรเปลี่ยนกระถางตามความเหมาะสมของทรงพุ่ม ถ้าต้นสนฉัตรมีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกในแปลงปลูกเพราะทรงพุ่มโตขึ้น
               การปลูกต้นสนฉัตร ต้องการแสงแดดปานกลางจนถึงแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุยมีความชื้นสูง ไม่ค่อยผู้ที่มีปัญหาเรื่องศัตรูเพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร
ต้นสนฉัตร
          
สนฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Aruacaria heterophylla 
วงศ์ : ARUCARIACEAE 
ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาะนอร์ฟอล์ก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ใช้ปลูกประดับสวนและปลูกในบริเวณบ้าน ให้ความสง่างามน่าดูมาก เพราะมีรูปทรงต้นคล้ายฉัตร ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นรอบต้น กิ่งและใบแตกออกมาจากต้นในรัศมีเดียวกันเป็นชั้นๆ จากโคนถึงยอด ตอนโคนต้นมีชั้นใหญ่และเล็กลงจนถึงยอด ใบสีเขียวแก่เป็นเกร็ดเล็กรวมกันเป็นแผงใหญ่ สนฉัตรเมื่อต้นเล็กขณะที่มีขนาดราว 30-150 เซนติเมตร สามารถปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้ แต่เมื่อต้นโตขึ้นควรลงปลูกในดิน แต่ถ้าโตหรือแก่มากต้นสูงขึ้นใบตอนล่างจะร่วงหล่นหมด ลำต้นจะไม่ตรงไม่น่าดู สนฉัตรชอบแดดจัด หากปลูกภายในอาคารควรวางในตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึง นอกจากความสง่างามของทรงพุ่มแล้ว สนฉัตรยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่สภาพแวดล้อมภายในอาคารด้วยการคายน้ำได้มากถึงแม้จะดูดสารพิษได้ไม่มากนัก เป็นพืชที่ต้องการแสง แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส เป็นต้นไม้ที่ ต้องการความชื้นสูง และ ต้องการปริมาณน้ำมาก

การดูแลต้นสนฉัตร การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร นิยมใช้ต้นสนฉัตรอายุระหว่าง 1-3 ปี การปลูกควรใช้กระถางทรงสูงขนาด12-18 นิ้ว ใช้ดินร่วน 1 ส่วน แกลบผุ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และควรเปลี่ยนกระถางตามความเหมาะสมของทรงพุ่ม ถ้าต้นสนฉัตรมีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกในแปลงปลูกเพราะทรงพุ่มโตขึ้น


การปลูกต้นสนฉัตร ต้องการแสงแดดปานกลางจนถึงแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุยมีความชื้นสูง ไม่ค่อยผู้ที่มีปัญหาเรื่องศัตรูเพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร


กล้วยไม้รองเท้านารี


     กล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) ได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ Paphia หมายถึง เทพธิดาแห่งความรักและความงาม และ pedilon หมายถึง รองเท้าของผู้หญิง ซึ่งหมายถึงลักษณะกลีบดอกที่เป็นถุงลึกคล้ายรองเท้า พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล้วยไม้รองเท้านารี มีชื่อสามัญคือ Lady’s Slipper จัดไว้ในวงศ์กล้วยไม้ (Family Orchidaceas) ชื่อสกุล (Genus) Paphiopedilum โดยลักษณะเด่นของกล้วยไม้ในสกุลนี้ คือ ส่วนกลีบปากลักษณะคล้ายถุง (saccate) หรือทั่วไปดูว่าคล้ายส่วนหัวของรองเท้าสุภาพสตรี จึงทำให้มีชื่อสามัญว่า“Slipper Orchid” ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า “กล้วยไม้รองเท้านารี”
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีชนิดหนึ่ง คือ กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่มีความเสี่ยงใกล้ที่จะสูญหายไปจากประเทศไทย
โดยช่วงต้นปี ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปสำรวจพรรณไม้และจัดเก็บตัวอย่างพรรณไม้ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และได้มีโอกาสเดินสำรวจในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ “กิ่วแม่ปาน” ซึ่งเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีวงรอบระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หลังจากเดินสักพัก ก็ได้พบกับกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่สวยงามและกำลังออกดอก พอสังเกตดูพบว่า มีการทำตะกร้าและใส่วัสดุรองปลูกมาติดไว้ตามต้นไม้ ทำให้เข้าใจว่าได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ และนำมาปลูกคืนป่า ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้เบื้องต้นได้ว่า กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์เป็นกล้วยไม้ที่หายาก และ ใกล้ที่จะสูญพันธุ์ และอีกเหตุผลที่สำคัญคือมีลักษณะดอกที่สวยงาม โดยสาเหตุของการสูญพันธุ์อาจมาจากการที่ชาวบ้าน หรือนักลงทุนมีการบุกรุกเข้าพื้นที่ป่าเพื่อเก็บกล้วยไม้ป่าไม่ว่าจะเป็นรองเท้านารีหรือกล้วยไม้ป่าชนิดอื่นๆ เพื่อนำไปขาย ทั้งการขายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์และกล้วยไม้ชนิดอื่น ๆ มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ มีถิ่นการกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัม สาธารณรัฐอินเดีย จนถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน มีลักษณะ พุ่มต้นกว้างประมาณ 25-30 ซม. ใบกว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 30-40 ซม. ใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบบริเวณโคนกาบใบ มีจุดประสีม่วง แตกหน่อได้ดี มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดประมาณ 10-12 ซม. ก้านดอกตั้งตรงยาว 10-12 ซม. กลีบดอกหนาเป็นมันเงา พื้นดอกสีเหลืองปนน้ำตาล กลีบบนบริเวณขอบมีสีเหลืองหรือขาว โคนกลีบบนสีน้ำตาลเข้ม กลีบในมีเส้นสีน้ำตาลเข้มแบ่งกึ่งกลางตามความยาวกลีบ กระเป๋าสีน้ำตาลเป็นมันเงา มีเส้นร่างแหสีน้ำตาล ออกดอกในช่วง มกราคม – มีนาคม ในธรรมชาติพบในทำเลที่เป็นป่าดิบภเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่หนา โดยขึ้นอยู่สูงประมาณ 1200-1500 เมตร จากระดับน้ำทะเล รองเท้านารีอินทนนท์เป็นกล้วยไม้แบบอิงอาศัย โดยพบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลักษณะเปลือกหนา มีการผุพังของเปลือกไม้ง่าย ปกคลุมด้วย มอส เฟิร์น ตะไคร่น้ำ อุ้มความชื้นได้ดี โดยหยั่งรากไปตามเปลือกไม้ ตามดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ และดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ดอยแม่อูคอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณภูหลวงจังหวัดเลย รวมถึงในฝั่งประเทศพม่า อินเดีย และตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
    

มะแพร้ว

   
    มะแพร้ว ชื่อนี้ฟังแล้วอาจไม่คุ้นหูนักสำหรับคนรุ่นใหม่เพราะคุ้นเคยกับมะพร้าวมากกว่า มะแพร้วจัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลปาล์ม มะแพร้วในปัจจุบันหาดูได้ยากมากแล้ว สาเหตุที่หาดูได้ยากก็เพราะว่า มันคือ มะพร้าวที่มีการผิดปกติของยีนนั่นเองทำให้ไม่มีดอกตัวเมียหรือระแง้จึงทำให้เกิดเป็นงวงขึ้นมาแทน นอกนั้นจะมีลักษณะเหมือนกันกับมะพร้าวทุกประการ แต่หากต้องการปลูกมะแพร้วอาจต้องอาศัยโชคอยู่พอสมควรเพราะมะแพร้วพร้อมที่จะกลายพันธุ์เป็นมะพร้าวได้เสมอ ถ้าหากในบริเวณที่ปลูกนั้นมีต้นมะพร้าวปลูกอยู่เยอะก่อนหน้านั้นแล้ว

     มะแพร้วกับมะพร้าว ลักษณะลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ แยกกันไม่ออก แต่หากสังเกตการออกดอก ออกผล ผลก็เหมือนมะพร้าว   ความแตกต่างอยู่ที่มะแพร้วเวลาออกลูกมีงวงคล้ายทะลายตาล ส่วนมะพร้าวมีทะลาย มีจั่น คล้ายหางหนูแต่มะแพร้วไม่มี เราจะสังเกตจาการที่ผลมะพร้าวติดกับแกนกลางของทะลาย แต่มะแพร้วกลับติดผลน้อยกว่ามะพร้าวปกติ คือ 4-5 ผลต่อทะลาย อาจจะเป็นเพราะมีดอกตัวผู้น้อยกว่าปกติหรือมีดอกตัวเมียมากเกินไปจนเลี้ยงอาหารไม่ไหว

ต้นยางพารา

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นยางพารา




วงศ์
 (Family): Euphorbiacea
จีนัส (Genus): Hevea
สปีชีส์ (Species): brasiliensis
ชื่อสามัญ (Common name): para rubber
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Hevea brasiliensis Mull-Arg.


ราก

         มีระบบรากแก้ว (tap root system) เมื่อยางอายุ 3 ปี รากแก้วจะหยั่งลงดินมีความยาวประมาณ 2.5 เมตร มีรากแขนงที่แผ่ไปทางด้านข้าง ยาว 7-10 เมตร


ลำต้น

         เป็นพวกไม้ยืนต้น ถ้าปลูกจากเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย แต่ถ้าปลูกโดยใช้ต้นติดตาจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ความสูง 30-40 เมตร ต้นอ่อนเจริญเร็วมากทำให้เกิดช่วงปล้องยาว เมื่ออายุน้อยเปลือกสีเขียว แต่เมื่ออายุมากขึ้นสีของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน เทาดำ หรือน้ำตาล เปลือกของลำต้นยางพาราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. cork เป็นส่วนที่เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุด
2. hard bark เป็นชั้นถัดเข้ามา ประกอบด้วย parenchyma cell และ disorganized sieve tube มีท่อน้ำยาง (latex vessel) ที่มีอายุมากกระจัดกระจายอย่างไม่ต่อเนื่อง
3. soft bark เป็นส่วนในสุดของเปลือกติดกับเนื้อเยื่อ cambium ประกอบด้วย parenchyma cell และ sieve tube มีท่อน้ำยางซึ่งเวียนขึ้นจากซ้ายไปขวาทำมุม 30-35 องศากับแนวดิ่ง ดังนั้นในการกรีดเพื่อเอาน้ำยาง จึงต้องกรีดลงจากซ้ายไปขวา เพื่อตัดท่อน้ำยางให้ได้จำนวนมากที่สุด
         เปลือกของลำต้นที่ให้น้ำยางคือ hard bark และ soft bark มีความหนารวมกัน 10-11 มิลลิเมตร น้ำยางที่ได้เป็น cytoplasm ที่อยู่ในท่อ หลังจากกรีดแล้วเปลือกจะเจริญได้เหมือนเดิมโดยใช้เวลา 7-8 ปี

ใบ


         เกิดเวียนเป็นเกลียว เป็นกลุ่มและท่อกลุ่มเรียกว่า ฉัตรใบ (leaf storey) ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ มีต่อมน้ำหวานที่โคนก้านใบ แต่ละใบรูปร่างแบบ ovate หรือ elliptical ยางพาราจะผลัดใบในช่วงต้นฤดูแล้ง ในภาคใต้จะผลัดใบในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ส่วนภาคตะวันออกจะผลัดใบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ช่อดอกและดอก


         ยางพารามีช่อดอกเกิดตามปลายกิ่ง เป็นแบบ panicle มีกิ่งแขนงมาก ช่อดอกเกิดขึ้นพร้อมกับใบใหม่ที่ผลัดหลังจากผลัดใบ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนช่อเดียวกัน

ผลและเมล็ด


         ผลเป็นแบบ capsule โดยทั่วไปมี 3 เมล็ด เมื่อแก่ผลจะแตกออก เกิดเสียงดัง เปลือกหุ้มเมล็ดจะมีลาย เมล็ดมีทั้งส่วนของเอนโดสเปิร์มและใบเลี้ยง ใบเลี้ยงมีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมันสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์