หน้าเว็บ

ปรับท่าทางในชีวิตประจำวัน

                      ปรับท่าทางในชีวิตประจำวัน



          "ตัวอย่างจากภาพแสดงให้เห็นว่า ท่าทางในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง สามารถส่งผลต่อสุขภาพหลังของเราได้ในระยะยาว

          หนังสือเรื่อง ปรับบุคลิกภาพ เพื่อความเป็นผู้หญิงสมาร์ทและสุขภาพดี สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ อธิบายว่า “การจัดท่าทางที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะทำให้บุคลิกภาพดูไม่ดีแล้ว ยังส่งผลกระทบไปยังกลไกการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย เช่น เมื่อนั่งหลังงอเวลากินอาหาร อวัยวะภายในจะถูกกด ทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารลดลง

       “ยิ่งกว่านั้น การอยู่ในท่าหลังโก่งนานๆ อาจทำให้กระดูกซี่โครงที่ห่อหุ้มอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจและปอด ผิดรูป ประสิทธิภาพในการทำงานของปอดและหัวใจจึงลดลงตามไปด้วย ซึ่งหากมองเผินๆ อาจไม่เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างการจัดท่าทางกับอวัยวะภายในโดยตรง แต่การจัดท่าทางที่ไม่ถูกต้องและทำท่านั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในชีวิตประจำวัน เช่น การก้มตัวผิดท่า การนั่งทำงานในท่าที่ร่างกายบิดเอียงเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังปวดไหล่ตามมาแน่นอน”

             



       เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่าการฝึกปรับท่าทางในชีวิตประจำวันของตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโดยเริ่มฝึกจากท่าทางทั่วๆ ไป ได้แก่"

                                   ปรับท่านั่งให้หลังไม่โก่ง


       "การนั่งเป็นอิริยาบถสำคัญของคนทำงานและเป็นสาเหตุก่ออาการปวดหลังที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน ตามที่ แพทย์หญิงจินธนา เจาฑะเกษตริน จากสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า

       “เนื่องจากคนทำงานในยุคนี้จำเป็นต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมง และสภาพแวดล้อมในการทำงานค่อนข้างมีความเครียด คนส่วนใหญ่จึงไม่มีเวลาสังเกตท่าทางตอนนั่งทำงานของตัวเอง หลายๆ คนจะนั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น โดยไม่รู้ตัวเอง ซึ่งการนั่งท่านี้นานๆ จะทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนบนได้”

        การฝึกท่าทางในการนั่งให้ถูกจึงมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้มากโดยเฉพาะท่าสำคัญๆ เช่น
“ท่านั่งทำงาน”
ควรเลือกเก้าอี้ที่มีที่วางข้อศอก เพื่อลดความปวดเมื่อยจากการใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) และเมาส์ (Mouse) ความสูงของเก้าอี้ไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไปเมื่อนั่งแล้ว หัวเข่ากับต้นขาควรอยู่ในระดับเดียวกันเท้าวางที่พื้นได้พอดี

       สำหรับท่าทางการนั่งบนเก้าอี้ ควรนั่งแยกขาเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักลงที่ฝ่าเท้า และพิงพนักเก้าอี้ไว้เสมอเพื่อป้องกันหลังโก่ง อาจหาหมอนรองหลังมาวางไว้ เพื่อลดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งในท่าเดิมนานๆ"

       ปรับเบอะนั่งให้รองรับส่วนเว้าของหลังพอดี ขณะขับรถควรนั่งหลังตรง หน้ามองตรง ไม่ควรโน้มตัวไปหน้าก้มหลังมากเกินไป
เปลี่ยนท่ายืน ช่วยยืดหลัง


                                                          ท่านั่งที่ถูกต้อง



      "การยืนที่ถูกต้องควรยืนให้คอและหลังตรงทิ้งน้ำหนักลงที่ขาทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ไม่งอเข่าไม่แอ่นหน้าท้องหรือยื่นคอไปข้างหน้า


      หลังตรงสวยด้วยท่านอน


      "การนอนถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และเป็นท่าที่ช่วยให้หลังได้ผ่อนคลายจากอาการปวดเกร็งด้วย

       ข้อมูลจากหนังสือ อยู่ให้เป็น สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ บอกว่า ท่านอนที่ดีที่สุดคือ ท่านอนหงาย โดยให้สะโพกและเข่างอเล็กน้อยเวลานอนจึงควรหาหมอนมารองใต้หัวเข่าไว้เพื่อให้กล้ามเนื้อขาและหลังได้พักผ่อน ซึ่งท่านอนในลักษณะนี้จะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังได้

      ส่วนใครที่ถนัดการนอนตะแคงก็สามารถนอนได้ โดยขณะนอน ควรให้ขาที่อยู่ด้านล่างเหยียดตรง และกอดหมอนข้างไว้ เพื่อช่วยผ่อนน้ำหนัก เนื่องจากท่านอนตะแคงเป็นท่าที่ต้องทิ้งน้ำหนักตัวไปทางด้านใดด้านหนึ่งนั่นเองค่ะ
  
     สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ การเลือกที่นอนและหมอน โดยไม่ควรเลือกที่นอนที่นิ่มหรือแข็งเกินไป ส่วนการเลือกหมอน ควรเลือกหมอนที่รองรับได้ทั้งศีรษะ ความสูงของหมอนประมาณ 4 – 6 นิ้ว และเวลาหนุนให้หนุนตั้งแต่ต้นคอถึงศีรษะ"

      ท่าทางอื่นๆในชีวิตประจำวัน
นอกจากอิริยาบถทั่วๆไปที่กล่าวถึงเเล้ว ท่าทางอื่น ๆ ที่เรามักทำเป็นประจำเเละควารเเก้ไข มีดังนี้ค่ะ


       ท่ายกของ


"เมื่อต้องยกของหนัก ไม่ควรก้มหลังลงไปแต่ให้ย่อเข่าลงนั่ง งอสะโพก แล้วค่อยออกแรงยก"

       ท่ายืนล้างภาชนะ

"ถ้าต้องยืนทำงานนานๆ ให้งอเข่าข้างหนึ่งมาข้างหน้า และวางเท้าบนที่พักเท้า เพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังส่วนเอวอยู่ในท่าแอ่น"


จากนิตยสารชีวจิตปีที่ 15:1กันยายน 2556 ฉบับที่ 358 หน้า 29


2 ความคิดเห็น:

  1. อ่าแล้วรู้สึกว่าตัวเองต้องปรับตามเนื้อหามั่งแล้ว

    ตอบลบ
  2. อ่าแล้วรู้สึกว่าตัวเองต้องปรับตามเนื้อหามั่งแล้ว

    ตอบลบ