หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เซลล์พืช

โครงสร้างเซลล์พืช มีรูปร่างคงที่ มีความแข็งแรง และมีออร์แกเนลล์พิเศษที่สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง

       สำหรับพืชก็ประกอบขึ้นด้วยเซลล์เช่นกัน แต่ส่วนประกอบภายใน เซลล์พืช จะแตกต่างออกไปจากเซลล์สัตว์ ทำให้เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะและสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกัน โดย โครงสร้างเซลล์พืช ประกอบไปด้วย
          1. ผนังเซลล์ (Cell wall)
       เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์ จะพบใน เซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ เป็นโครงสร้างที่กำหนดขอบเขต และรูปร่างของสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูป และป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์พืช ในผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) และเพกติน (Pectin)
           2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
       ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) และโปรตีนเป็นส่วนมาก ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนที่เป็นของเหลวและออร์แกเนลล์ภายใน ทั้งยังเป็นเยื่อเลือกผ่าน ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์
เซลล์พืช, โครงสร้างของเซลล์, เซลล์, ส่วนประกอบของเซลล์
เซลล์พืชมีออร์แกเนลล์ที่สามารถสามารถสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ซึ่งไม่พบในเซลล์สัตว์
             3. นิวเคลียส (Nucleus)
          มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ และการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
             4. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
           เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ และสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน
             5. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum)
           แบ่งออกเป็นแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ แบบผิวเรียบจะไม่มีไรโบโซม ขณะที่แบบผิวขรุขระจะมีไรโบโซมเกาะอยู่ โดยไรโบโซม(Ribosome) นี้เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์
              6. แวคิวโอล (Vacuole)
           เป็นถุงขนาดใหญ่ที่พบในเซลล์พืช มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว ทำหน้าที่เก็บของเหลว น้ำ สารอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แทนนิน
กระบวนการสังเคราะห์แสง, เซลล์พืช, เซลล์, คลอโรพลาสต์
การสังเคราะห์แสงในเซลล์พืช เกิดขึ้นที่คลอโรพลาสต์ ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะหืแสงคือ น้ำตาลและแก๊สออกซิเจน
                7. คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
            พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสีเขียวเพราะมีพลาสติดที่สะสมรงควัตถุสีเขียวอยู่ภายใน นั่นคือคลอโรฟีล (Chloroohyll) ทำหน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
               8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
            มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี ทำหน้าที่หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ)
               9. กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิแอพพาราตัส (Golgi Apparatus)
           มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่ง ต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์

เซลล์สัตว์





เซลล์สัตว์ เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสัตว์ ซึ่งภายในเซลล์ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ (organelles) ต่างๆ

    เซลล์ คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต สำหรับใน เซลล์สัตว์ มีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
     เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
    พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส เยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ และเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ มีคุณสมบัติยอมให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกเท่านั้น ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และคอเลสเตอรอล
      นิวเคลียส (Nucleus)
     มีลักษณะค่อนข้างกลม อยู่บริเวณกลางเซลล์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอพลาซึมซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ภายในเซลล์ แบ่งเซลล์ และบรรจุสารพันธุกรรม DNA
       ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
      อยู่ระหว่างนิวเคลียสและเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่าไซโทซอล (Cytosol) และส่วนที่เป็นของแข็ง เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle)


ออร์แกเนลล์ต่างๆ ภายในเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่สอดประสาน เพื่อให้กิจกรรมภายในเซลล์ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติ

        ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum, ER)
      แบ่งออกเป็นชนิดผิวเรียบและผิวขรุขระ ชนิดผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Recticulum, SER) จะไม่มีไรโบโซมเกาะ ทำหน้าที่สร้างไขมัน กำจัดสารพิษ ส่วนชนิดผิวขรุขระ (Rough endoplasmic recticulum, RER) จะมีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สร้างโปรตีน และส่งโปรตีนออกนอกเซลล์
        ไรโบโซม (Ribosome)
      เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์ มี 2 หน่วยย่อย ประกอบด้วยหน่วยใหญ่และหน่วยเล็ก แต่ละหน่วยจะมี Ribosomal RNA (rRNA)
        ไลโซโซม (Lysosome)
      เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง ทำหน้าที่ย่อยสลายอนุภาค โมเลกุลสารอาหารภายในเซลล์ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์ และทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว

ไมโทคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิต และทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการหายใจระดับเซลล์

        ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
      เป็นแหล่งผลิตสารพลังงานสูง คือ ATP เกี่ยวข้องกับการสลายอาหารหรือการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน เป็นออร์แกเนลล์ที่ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีของเหลวภายในเรียกว่า matrix ภายในมี DNA และไรโบโซมเป็นของตัวเอง
         กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิคอมเพล็กซ์ (Golgi Complex)
      มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่งหรือต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์



วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หมาก

                       ต้นหมาก

  
                                       
 
ชื่อทั่วไป
    -หมาก
ชื่อสามัญ
   - Betel  Nuts
ชื่อวิทยาศาสตร์
    -Areca catechu Linn
ชื่อวงศ์
    -    
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
        หมากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  ไม่มีราคแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน

ลำต้น 
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว  ระยะแรกจะมีการเจริญ
โตด้านกว้างและด้านสูง  หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง  หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย  ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ  ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น ใบ หรือ ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ เซนติเมตร  ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก

ใบ
 เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด  ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น
แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย  เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก  ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก  เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก

ดอก 
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก  ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น  ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง  ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย  โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน  ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน

ผล 
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี  เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1
ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล  ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ  ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง  ผลประกอบด้วย  ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว  เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด  เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก  ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม  เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล  เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

พันธุ์หมาก 
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
1. แบ่งตามลักษณะของผล
1.1 หมากผลกลมแป้น
1.2 หมากผลกลมรี
2. แบ่งตามลักษณะของทรงต้น
2.1 พันธุ์ต้นสูง
2.2 พันธุ์ต้นเตี้ย
2.3 พันธุ์ต้นกลาง

การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว  จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้  การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 – 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม
               
การปลูกการดูแลรักษา 
หมากเจริญเติบโตดี  ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา  หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 – 30 ปี 
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร  เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน  ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง  ระบายน้ำดี  มีหน้าดินลึก เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่
               
ฤดูปลูก 
ฤดูปลูกที่เหมาะจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม  ระยะปลูกมี แบบ คือ
                1. แบบยกร่อง  ระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง ระหว่างต้นห่าง 3 – 5 เมตร ถ้าร่องกว้าง เมตร จะได้หมากไร่ละ 100 – 170 ต้น
                2. แบบพื้นราบ  ปลูกพื้นราบ ถ้าระยะปลูก 2 X 2 จะได้ต้นหมาก 400 ต้นต่อ ไร่

ช้างแมมมอธ

             ช้างแมมมอธ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ช้างแมมมอธ
     แมมมอธ (อังกฤษ: Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า “แมมมอธ” นั้นมาจากคำว่า “Mammal” หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน
แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย
แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว
เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ช้างแมมมอธ

เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว
ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 มีการค้นพบซากลูกแมมมอธอายุราว 30,000 ปี ที่สมบูรณ์มากตัวหนึ่งที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงมอสโคราว 3,500 กิโลเมตร โดยเด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่ง นับเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์มากซากหนึ่งในรอบนับร้อยปี เชื่อว่า ลูกแมมมอธตัวดังกล่าวตายลงเมื่อมีอายุได้ 16 ปี มีความสูงได้ 2 เมตร