หน้าเว็บ

รายงายพิเศษ

ย้อนรอย"ข้าวปนเปื้อน"

                          

     เพือกินข้าวอย่างปลอดภัยยั่งยื่น



    "เชื่อว่า ในช่วง 2 - 3 เดือนมานี้ ข่าวที่สร้างความช็อกแก่คนในสังคมและสั่นสะเทือนไปทั้งวงการอุตสาหกรรมข้าวคงหนีไม่พ้นกระแสการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องข้าวปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งตอนนี้หลายคนอาจจะกำลังเกิดอาการตื่นตระหนัก และสับสนกับกองภูเขาข้อมูลที่พรั่งพรูมาจากหลายทิศทางชีวจิตเองก็ไม่พลาดประเด็นร้อนนี้เช่นกัน จึงหาโอกาสร่วมพูดคุยกับ คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ( Biothai) เจ้าหน้าที่จากเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อเคลียร์ใจต่อทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับข้าวไทยที่ทุกคนควรรู้ ซึ่งอาจจะเป็นข้าวที่อยู่ในจานตรงหน้าตอนนี้ก็เป็นได้"



     ทำไมต้องรมควันข้าว



"    ย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2554 หลังการประกาศให้มีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทำให้ชาวนาไทยส่วนใหญ่นำผลผลิตของตนมาเข้าโครงการอย่างล้นหลาม โดยโรงสีที่อยู่ในโครงการจะรับจำนำข้าวในรูปแบบข้าวเปลือก แล้วแปรสภาพให้เป็นข้าวสาร หลังจากนั้นข้าวทุกเม็ดจะถูกนำไปเก็บในไซโลหรือโกดังเก็บของโรงสี โดยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้ถูกรบกวนจากแมลง ในระหว่างที่เก็บรักษาทางโรงสีจึงต้องรมควันข้าว ซึ่งการรมควันนี้จะใช้สารที่ได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO)โดยปกติจะรมควันกันทุกๆ 6 เดือน แต่เมื่อปริมาณข้าวในโกดังถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานานและสถานที่จัดเก็บอาจจะไม่ดีนัก จึงต้องเพิ่มการรมถี่ขึ้นเป็น 2 เดือนต่อครั้ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพข้าวจากโกดังรัฐ ทำให้ทั้งสีและกลิ่นลดลงไปด้วย"


     มารู้จักสารรมควันข้าวกันก่อน



    "สารรมควัน คือ สารที่ทำอันตรายต่อแมลงและศัตรูพืช โดยก๊าซที่ระเหยออกมาจะมีพิษอย่างเฉียบพลันต่อระบบหายใจ จึงนำมาใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมหรือกำจัดแมลง หนู รวมถึงสัตว์ที่อยู่ในดิน (อ้างอิงจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) โดยส่วนใหญ่สารที่ใช้ในการรมควันข้าวมี 2 ชนิด คือ สารฟอสฟีนและเมทิลโบรไมด์



    จากความกังวลสู่การตรวจสอบ



    "หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องข้าวปนเปื้อนกันมาอย่างหนาหูก่อให้เกิดความกังขาในหมู่ประชาชน ซึ่งในการตรวจสอบการปนเปื้อน ประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ ก็สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน
วิธีการแรก คือ การส่งตัวอย่างข้าวไปตรวจในห้องแล็บ ซึ่งคุณปรกชล อธิบายให้ฟังว่า
“เราสามารถส่งตัวอย่างข้าวที่ต้องสงสัยไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐาน ISO 17025 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นห้องปฏิบัติการเฉพาะที่รับตรวจสารเมทิลโบรไมด์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบขั้นต่ำ 2,800 บาทต่อหนึ่งตัวอย่าง ซึ่งในการตรวจสอบ ทางห้องปฏิบัติการจะใช้การวิเคราะห์หาโบรไมด์ไอออน โดยเริ่มจากนำตัวอย่างข้าวไปทำการย่อยสลายด้วยด่าง แล้วนำไปเผาไฟที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีชนิดอื่น จึงจะสามารถนำมาตรวจหาโบรไมด์ไอออนได้
ส่วนอีกวิธีที่ทำง่ายและสะดวก คือ การเข้าไปตรวจสอบรายชื่อยี่ห้อข้าว และปริมาณที่ปนเปื้อนที่ http://www.biothai.net ซึ่งทางมูลนิธิชีววิถีและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รวบรวมรายละเอียดของการตรวจสอบข้าวทุกยี่ห้อและข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคไว้บนเว็บไซต์ทั้งหมด"


จากนิตยสารชีวจิตปีที่ 15:1กันยายน 2556 ฉบับที่ 358 หน้า 64

2 ความคิดเห็น: